6. ตัวแปร
ตัวแปร เป็นคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของหน่วยตัวอย่างสามารถแปรค่าหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามคุณสมบัติหรือตามค่าที่ผู้วิจัยได้กำหนด
การกำหนดตัวแปรนั้นผู้วิจัยควรทบทวน แนวคิด ทฤษฏีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และต้องครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาเพื่อให้การกำหนด
ตัวแปรในงานวิจัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เพศ ประกอบไปด้วย
เพศชาย และหญิง, ระดับการศึกษา เช่น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
เป็นต้น
1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ
(Independent variable) เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ
ตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น ตัวแปรต้นจะมีผลต่อตัวแปรตาม ดังนั้นค่าตัวแปรต้นมีส่วนกำหนดค่าตัวแปรตาม
2. ตัวแปรตาม (Dependent
variable) เป็นตัวแปรซึ่งเป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ
ค่าตัวแปรตามจึงเป็นค่าที่ผันแปรตามค่าของตัวแปรต้น
หรือเป็นผลที่ได้รับมาจากตัวแปรอิสระ
3.ตัวแปรเกิน (Extraneous Variable) หรือตัวแปรภายนอก คือ ตัวแปรที่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม แต่ไม่ใช่ตัวแปรที่ผู้วิจัยเจาะจงศึกษา
บางครั้งผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ล่วงหน้า ทำให้สามารถควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้ไว้
ตัวแปรที่ควบคุมไว้นี้เรียกว่า "ตัวแปรคุม” ตัวแปรบางตัวผู้วิจัยควบคุมไว้ไม่ได้
แต่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อตัวแปรเช่นนี้ เรียกว่า "ตัวแปรสอดแทรก
7. การเขียนและการระบุตัวแปรในการวิจัย
งานวิจัยเชิงสำรวจที่วัตถุประสงค์มีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบกัน หรือ เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ให้ระบุทั้งตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ตัวแปรใดเกิดก่อน
ให้ถือว่าตัวแปรนั้นเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เกิดภายหลังเรียกตัวแปรตาม นอกจากนี้ถ้าตัวแปรใดเป็นสาเหตุของอีกตัวแปรหนึ่ง
ตัวแปรนั้นถือว่าเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เป็นผลนั้นถือว่าเป็นตัวแปรตาม
นอกจากนี้ตัวแปรแทรกซ้อนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้วิจัยควรตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนและควบคุมการเกิดขึ้นของตัวแปรแทรกซ้อนเนื่องจากตัวแปรแทรกซ้อนมี
ลักษณะที่คล้ายคลึงกับตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจมีผลทำให้ขาดความเที่ยงตรง
อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้