6. ตัวแปร
ตัวแปร เป็นคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของหน่วยตัวอย่างสามารถแปรค่าหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามคุณสมบัติหรือตามค่าที่ผู้วิจัยได้กำหนด
การกำหนดตัวแปรนั้นผู้วิจัยควรทบทวน แนวคิด ทฤษฏีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และต้องครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาเพื่อให้การกำหนด
ตัวแปรในงานวิจัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เพศ ประกอบไปด้วย เพศชาย และหญิง, ระดับการศึกษา เช่น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เป็นต้น
ตัวแปรในงานวิจัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เพศ ประกอบไปด้วย เพศชาย และหญิง, ระดับการศึกษา เช่น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เป็นต้น
1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ
(Independent variable) เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ
ตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น ตัวแปรต้นจะมีผลต่อตัวแปรตาม ดังนั้นค่าตัวแปรต้นมีส่วนกำหนดค่าตัวแปรตาม
2. ตัวแปรตาม (Dependent
variable) เป็นตัวแปรซึ่งเป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ
ค่าตัวแปรตามจึงเป็นค่าที่ผันแปรตามค่าของตัวแปรต้น
หรือเป็นผลที่ได้รับมาจากตัวแปรอิสระ
3.ตัวแปรเกิน (Extraneous Variable) หรือตัวแปรภายนอก คือ ตัวแปรที่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม แต่ไม่ใช่ตัวแปรที่ผู้วิจัยเจาะจงศึกษา
บางครั้งผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ล่วงหน้า ทำให้สามารถควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้ไว้
ตัวแปรที่ควบคุมไว้นี้เรียกว่า "ตัวแปรคุม” ตัวแปรบางตัวผู้วิจัยควบคุมไว้ไม่ได้
แต่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อตัวแปรเช่นนี้ เรียกว่า "ตัวแปรสอดแทรก
7. การเขียนและการระบุตัวแปรในการวิจัย
งานวิจัยเชิงสำรวจที่วัตถุประสงค์มีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบกัน หรือ เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ให้ระบุทั้งตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ตัวแปรใดเกิดก่อน
ให้ถือว่าตัวแปรนั้นเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เกิดภายหลังเรียกตัวแปรตาม นอกจากนี้ถ้าตัวแปรใดเป็นสาเหตุของอีกตัวแปรหนึ่ง
ตัวแปรนั้นถือว่าเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เป็นผลนั้นถือว่าเป็นตัวแปรตาม
นอกจากนี้ตัวแปรแทรกซ้อนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้วิจัยควรตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนและควบคุมการเกิดขึ้นของตัวแปรแทรกซ้อนเนื่องจากตัวแปรแทรกซ้อนมี
ลักษณะที่คล้ายคลึงกับตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจมีผลทำให้ขาดความเที่ยงตรง
อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น