4. กลุ่มตัวอย่าง (Sample)
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ในการวิจัยหมายถึง ตัวแทน หรือกลุ่มที่ถูกสุ่มตัวอย่างขึ้นมาจากประชากรเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการดำเนินการศึกษาวิจัย
กลุ่มตัวอย่างควรมีองค์ประกอบดังนี้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากประชากร ของการศึกษาวิจัย
และการมีคุณสมบัติของการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ หากผู้วิจัยดำเนินการสุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้แล้ว
จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสรุปผลการวิจัย
5. การเขียนสมมุติฐานการวิจัย
สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) เป็นการคาดคะเนผลของการวิจัยโดยมีข้อมูลอ้างอิงได้
ดังนั้นผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลเบื้องต้นสำหรับวิเคราะห์ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยมีเหตุผลในการกำหนดสมมติฐาน
ลักษณะของสมมุติฐานที่ดีมีดังต่อไปนี้
1.ต้องอาศัยแนวคิด ทฤษฎี
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยจะไม่ตั้งสมมติฐานขึ้นมาลอย ๆ
2.สมมุติฐานต้องมีความชัดเจน
ถูกต้องตามหลักภาษา
3.รูปแบบประโยคมีความกระทัดรัด
ไม่ใช่ภาษาที่ฟุ่มเฟือย
4.สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูลหรือวิธีการทางสถิติ
5. มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์การวิจัย
ประเภทของสมมุติฐาน
1. สมมุติฐานการวิจัย (research hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนอยู่ในรูปของข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร
2. สมมุติฐานทางสถิติ (statistical hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เปลี่ยนรูปมาจากสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนคุณลักษณะเกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ของ ประชากร
1. สมมุติฐานการวิจัย (research hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนอยู่ในรูปของข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร
2. สมมุติฐานทางสถิติ (statistical hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เปลี่ยนรูปมาจากสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนคุณลักษณะเกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ของ ประชากร
ตัวอย่างการเขียนสมมุติฐานการวิจัย
งานวิจัยเรื่อง: ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสิ่งบริการนักท่องเที่ยว
กรณีศึกษาชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
สมมติฐานการวิจัย
1.นักท่องเที่ยวที่มีเพศแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อสิ่งบริการนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน
2.นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน
มีความพึงพอใจต่อสิ่งบริการนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน
ประโยชน์ของสมมติฐาน
1.เป็นแนวทางในดำเนินการวิจัย
2.จำกัดขอบเขตของการวิจัยให้สามารถดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
3. ช่วยให้ผู้วิจัยมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น