นย์จัดการความรู้

นย์จัดการความรู้

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ระเบียบวิธีวิจัย


ระเบียบวิจัย
1.      การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยที่เน้นถึงการศึกษา
ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่ในอดีต ซึ่งประโยชน์ของการวิจัย ลักษณะนี้ก็คือ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน หรือสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมไปถึงนำมาปรับใช้ในการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน เนื่องจากในอดีตมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ซึ่งสามารถเลือกนำมาปรับ
ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
2.      การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยที่เน้นถึงการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในการดำเนินการวิจัย นักวิจัยไม่สามารถที่จะไปจัดสร้างสถานการณ์หรือควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ การวิจัยแบบนี้เป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากกรธรรมชาติ เป็นต้น มีการวิจัยหลายชนิดที่จัดไว้ว่าเป็นการวิจัยเชิงบรรยายได้แก่
2.1   การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)
2.2   การวิจัยเชิงสังเกต (Observational research)
2.3   การวิจัยเชิงวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบสาเหตุ (Causal Comparative)
2.4   การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)
3.  การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยมีการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระเพื่อศึกษาผลที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นมิให้มีผลกระทบต่อตัวแปรตาม ซึ่งนิยมมากทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับทางด้านการศึกษา ค่อนข้างลำบาก ในแง่ของการควบคุมตัวแปรเกินลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงทดลองคือ
3.1   ควบคุมตัวแปรเกินได้ (Control)
3.2   จัดการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระได้ (Manipulation)
3.3   สังเกตได้ (Observation)
3.4   ทำซ้ำได้ (Replication)

อาจารย์ประภัสสร ทองยินดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น