นย์จัดการความรู้

นย์จัดการความรู้

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเขียนชื่อเรื่องงานวิจัย


ชื่อเรื่องการวิจัย (research title) มีความสำคัญในการที่จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้อยากติดตามเนื้อหางานวิจัย   นอกจากนี้ ชื่อเรื่องวิจัยยังเป็นสื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจได้ว่า ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าวิจัยอะไร หรือต้องการหาคำตอบในเรื่องอะไรบ้าง   ซึ่งประเด็นสำคัญที่อาจปรากฏในชื่อเรื่องการวิจัยคือ  ตัวแปรสำคัญที่ต้องการจะศึกษา  ความเกี่ยวข้องของตัวแปรที่จะศึกษา  และขอบเขตการศึกษาวิจัย   หลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเรื่องการวิจัย มีดังนี้
 1.    ใช้ภาษาถูกต้อง เป็นประโยคที่สมบูรณ์มีความชัดเจน
 2.    เห็นลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรตลอดจนขอบเขตของการวิจัย
          3.   ชื่อเรื่องต้องบอกได้ว่าเป็นการศึกษาอะไร (what)  กับใคร (who)  หรือของใคร (for whom)  และถ้าชื่อเรื่องมีสถานที่หรือเวลาเกี่ยวข้อง ต้องระบุสถานที่ (where)  รวมถึงเวลาที่ใช้
รวมไปถึงการวางแผนงานวิจัยคร่าว ๆ และการศึกษาขอบเขตของงานวิจัย ก่อนที่จะกำหนด
ชื่อเรื่องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากช่วยให้มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะนำไปสู่การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยได้
อย่างถูกต้องและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
           4.ชื่อเรื่องมักต้องขึ้นต้นด้วยนาม มากกว่าคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ เช่น ขึ้นต้นคำว่า  การศึกษา  การวิเคราะห์  เป็นต้น
           5.ชื่อเรื่องต้องใช้ภาษาที่กะทัดรัด ชัดเจน สามารถเข้าใจได้ง่าย และครอบคลุมปัญหาที่ศึกษาทั้งหมด และเปนประโยชนตอสวนรวม สังคม และประเทศชาติ
            6. ชื่อเรื่องไม่ควรมีคำย่อ ต้องเขียนชื่อเรื่องวิจัยด้วยคำเต็ม
            7. ชื่อเรื่องวิจัยที่เป็นภาษาไทย ควรเขียนด้วยภาษาไทยทั้งหมด ยกเว้นคำภาษาอังกฤษยังไม่มีคำแปลหรือคำเฉพาะ อาจเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือเขียนทับศัพท์
ตัวอย่าง
          การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษา อาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษา หรือการสำรวจความพึงพอใจ  การศึกษาทัศนคติ เป็นต้น
          การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติ เป็นต้น
          การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น